วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่3



 ประวัติส่วนตัว

 ชื่อ นางอังศินันท์  อินทรกำแหง  Mrs.Ungsinun  Intarakamhang   
ตำแหน่งปัจจุบัน
                 ดำรงตำแหน่งวิชาการ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  
                 ตำแหน่งบริหาร รองผู้อำนวยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ฝ่ายจัดการความรู้และกิจการพิเศษ
                 สาขาที่ทำวิจัย สาขาพฤติกรรมศาสตร์ สาขาสังคมวิทยาและจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
 สถานที่ติดต่อ
                 ที่ทำงานปัจจุบันสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 026495174 โทรสาร 026495182
                E-mail: ungsinun@swu.ac.th


                           รางวัลวิชาการที่ได้รับ

1.  รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น จากสำนักงานกองทุนวิจัย (สกว.) และ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.) ปี 2551


2.  รางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี 2551 รางวัลรายงานการวิจัยระดับชมเชย จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)


3.  รางวัลเกียรติคุณ  “ต้นไม้ที่เติบโตแห่งการวิจัย” นักวิจัยระดับกลาง สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประจำปี 2553 ให้ไว้ ณ วันที่ 28 เมษายน 2553 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
 
4.  เกียรติบัตร ยกย่องสรรเสริญ  ผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2548 – ปัจจุบัน  ให้ไว้ ณ วันที่ 9 กันยายน 2552


5.  รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นสาขาการบริหาร  ของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย ให้ไว้ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2553 


6. เกียรติบัตรเสนอผลงานวิจัยดีเยี่ยมแบบบรรยาย ในการประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ระหว่างวันที่ 14 -16 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมรีเจนฮอลิเดย์อิน จ.เพชรบุรี ของ สกว.ร่วมกับ สกอ.


            ชอบผู้นำทางวิชาการด้าน  การทำงาน

ใบงานที่7


สรุป
การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ       การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
การจัดชั้นเรียน
การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่จะสอน เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
นำมาใช้
  เป็นครูที่มีความรู้ ในเนื้อหาวิชาที่จะสอนมีความรู้เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

ใบงานที่6

    สรุปและแสดงความคิดเห็น
สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
วิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีสมาคมวิชาชีพด้านการศึกษาดูแลเรื่องมาตรฐานการอาชีพของครู และของผู้บริหารที่เรียกว่า “Professional Standard Boards”
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ       การใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ การประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภา
นำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู
       การใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ การประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภา

ใบงานที่5

สิ่งที่ได้รับคือเรามีต้นแบบที่ดีคือสมเด็จย่า  แม้ว่าสมเด็จย่าจะจากพวกเราไปแต่พระองค์ฝากสิ่งที่สำคัญยิ่งไว้ให้ชาวโลก วิทยากรที่กล่าวถึงคือ พระเทพโสภณ  พระคุณเจ้าสรุปความสำคัญของคำว่า  ต้นแบบ  ว่ามี2นัย 
 นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่ให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง      
 นัยที่สองคือต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน
 จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตของผู้ดูแบบคือการได้รู้  ได้ดูได้เห็นต้นแบบ       นำไปใช้ประโยชน์ จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กเพื่อนาคตของชาติ

ใบงานที่ 4

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  เราทุกคนต้องยอมรับไม่ว่าอยู่ในยุคสมัยใด การเปลี่ยนแปลงได้สร้าวหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงก้ได้สร้างโอกาสใหม่ๆให้กับหลายองค์กรเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้หากจะมองในระดับบุคคลแล้วคงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดจะสำคัญและยิ่งใหญ่ไปกว่าการปรับเปลี่ยนมุมมอง การสร้างความเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายหากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการอยู่แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า  ภาวะผู้นำ